19 เมษายน 2564 3 นาที

ต้องยอมรับว่าคนแต่ละคนมีความแตกต่างทางบุคลิกและนิสัยใจคอ การเรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างของคนจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การอยู่ร่วมกันและการทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น มีศาสตร์การเรียนรู้ความแตกต่างของคนอยู่หลายศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น Enneagram (นพลักษณ์) ที่แบ่งคนเป็น 9 แบบ หรือ MBTI แบบวัดบุคลิกภาพที่แบ่งคนเป็น 16 บุคลิก โดยเป้าหมายของการเรียนรู้ความแตกต่างของคนก็เพื่อให้เรารู้จักตัวเองและรู้จักผู้อื่น พยายามทำความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้องกับคนอื่นที่นิสัยทั้งเหมือนเราและไม่เหมือนกับเรา


เช่นเดียวกันในโลกของการลงทุน
ถึงแม้จะมีการประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยง
และความยินดีที่จะรับความเสี่ยงแล้ว แต่นิสัยของคนก็มีผลที่จะทำให้
แต่ละคนเหมาะกับรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกัน

โดยเฉพาะนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่ารูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับเราจริงๆนั้นคืออะไร เราเลยขอแบ่งนักลงทุนมือใหม่ตามนิสัยเป็น 4 สาย มาลองดูว่าสายไหนที่ใช่เรามากที่สุด จะได้ช่วยประกอบการตัดสินใจเริ่มต้นการลงทุนของเรา

1. มือใหม่สายลั้ลลา

นิสัยของนักลงทุนสายนี้ คือคนรักอิสระใช้ชีวิตตามสบายอยากทำอะไรทำเลย จนบางทีชีวิตอาจขาดระเบียบวินัยไปบ้าง แต่แล้วไงใครแคร์ยิ่งเรื่องลงทุนถ้าไม่บังคับไม่ทำหรอก

สายลั้ลลาถ้าให้เหมาะสุดควรเลือกเริ่มต้นเก็บเงินในรูปแบบที่ต้องมีวินัย บังคับกลายๆให้มีระเบียบ เช่น ประกันสะสมทรัพย์ที่ต้องมีวินัยจ่ายเบี้ยทุกปีตลอดตามสัญญา หรือถ้าคนที่สนใจลงทุนในหุ้นในกองทุนรวม ตอนนี้โบรกเกอร์หุ้นหรือกองทุนรวมก็มีบริการซื้อสะสมสม่ำเสมอ ให้เลือกหักเงินลงทุนโดยหักผ่านบัญชีเงินฝาก หรือตัดบัตรเครดิตอัตโนมัติเท่าๆกันทุกเดือนอย่างเช่น บริการตัดบัญชีอัตโนมัติที่จะโอนเงินไปเก็บอัตโนมัติได้เองด้วยการตั้งรายการล่วงหน้าใน App รับวิถี New Normal

คำถามแล้วจะให้ไปเริ่มต้นลงทุนอะไรดี สำหรับคนรับความเสี่ยงได้น้อย ลองเริ่มด้วยกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาน้อย ส่วนคนที่รับความเสี่ยงได้ เน้นโอกาสเพิ่มผลตอบแทนสูงขึ้น อาจจะเริ่มที่กองทุนผสม หรือ กองทุนหุ้น และเริ่มต้นลงทุนได้เลย ผ่าน Mobile Banking App

2. มือใหม่สายชิล

นิสัยของนักลงทุนสายนี้ คือ คนชิลชิล ใช้ชีวิตง่ายๆ ไม่ชอบอะไรซับซ้อน ถ้าเรื่องลงทุนก็ชอบซื้อกองทุนเดียวแบบไม่ต้องคิดเองให้ยุ่งยาก ไม่ต้องค้นคว้าติดตามอะไรมากนัก คนลงทุนสายนี้ จึงเหมาะกับกองทุนผสมที่มีการจัดสัดส่วนการลงทุนให้ในตัว แบบนี้ตรงใจสายชิลแน่นอน เหตุผลที่ทำให้กองทุนผสมเป็นกองทุนในใจของมือใหม่สายชิล เนื่องจาก

3. มือใหม่สายซับซ้อนแต่ไม่มีเวลา

นิสัยของนักลงทุนสายนี้ คือต้องการลงทุนเป็นพอร์ตเพราะเห็นความจำเป็นของการจัดสัดส่วนการลงทุน การทำ rebalance แต่ไปๆมาๆ ไม่ค่อยมีเวลาลงมาจัดการเอง ถ้าเป็นแบบนี้น่าจะเลือกใช้วิธีที่ง่าย โดยการเลือกเป้าหมายที่ตนเองต้องการ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ ROBO Advisor (เทคโนโลยีที่ให้บริการแนะนำการลงทุนแบบออนไลน์) ช่วยจัดพอร์ตเลือกกองทุนให้อัตโนมัติตามแผนการลงทุนที่เหมาะกับความเสี่ยงของเรา ลงทุนเริ่มต้นหลักพัน หรืออยากเพิ่มลงทุนรายเดือนอัตโนมัติเริ่มต้นหลักร้อย หรือใช้ลงทุนผ่านกองทุนผสม โดยดูนโยบายการลงทุนแบบผสมให้เหมาะกับตนเอง แต่ถ้ายังหากองทุนที่ถูกใจไม่ได้ ก็กำหนดสัดส่วนและกองทุนที่ถูกใจ และตั้งให้ซื้ออัตโนมัติไว้เลย สายซับซ้อนไม่มีเวลาไม่พลาดแน่

4. มือใหม่สายมั่น

นิสัยของนักลงทุนสายนี้ คือคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง และถ้าต้องการทำอะไรสักเรื่อง ต้องหาทางเข้าใจทำเองให้ได้ มั่นใจว่าไม่พึ่งพาใคร สายมั่นเหมาะกับการเลือกลงทุนแบบที่ฉันเลือกเองได้ จะปังหรือจะพังก็ยังภูมิใจถือว่าฉันได้ทำเอง ถ้าได้คิดเองผสมเอง เช่น

แบบนี้ไม่เพียงได้เลือกกองทุนและสัดส่วนด้วยตนเอง แต่ถ้าลงทุนไปแล้วปังก็ยิ่งเสริมความมั่นใจให้นักลงทุนสายนี้เข้าไปอีก ถ้าเป็นประกันสายนี้น่าจะเหมาะกับประกันแบบที่นอกจาก จะซื้อความคุ้มครองแล้วยังเลือกการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้อย่างพวก Unit-Linked สายมั่นควรเพิ่มความรู้เรื่องจัดสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) หมั่นติดตามดูว่ากองทุน มีอะไรให้เลือกบ้าง และหาความรู้ด้านการลงทุนประกอบ จะได้เสริมความมั่นให้สุดๆไปเลย เพราะผลตอบแทนจะขึ้นกับเวลาที่ใช้ในการติดตาม และความรู้ที่ใช้เลือกกองทุนแบบมั่นๆ นี่เอง

ไม่ว่าเราจะเป็นนักลงทุนสายไหนจะเลือกการลงทุนแบบไหน
ก่อนลงทุนก็ควรศึกษาให้ดี และเมื่อมีความรู้ในการลงทุนที่ดีแล้ว
ก็เริ่มต้นทันที เพราะถ้าเราออกตัวเร็วกว่าก็มีโอกาสที่จะถึงเป้าหมายการเงินก่อน ขอให้ถึงเส้นชัยทั้ง 4 สายนักลงทุน มือใหม่ครับ

โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

หมายเหตุ : *สัดส่วนการลงทุนโดยประมาณอ้างอิงจากโมเดลพอร์ตแนะนำประเภท Low Risk และ Moderate Risk (ที่มา : บลจ. กสิกรไทย ณ 16 มี.ค. 64)

บทความโดย ทีม K-Expert ที่ปรึกษาทางการเงิน ธนาคารกสิกรไทย
แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สำรวจว่าคุณ
เป็นนักลงทุนแบบไหน
คลิก

ให้เราแนะนำตัวเลือกการลงทุนที่เหมาะกับคุณ

ดูเพิ่มเติม